แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564
ยุทธศาสตร์ที่ 1 บูรณาการคุณค่าและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพโดยการมีส่วนร่วมในทุกระดับ
1.1 แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความตระหนักและให้การศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมาย
ตัวชี้วัด
1 ร้อยละของแต่ละภาคส่วนที่มีความตระหนักและความรู้เรื่องคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
2 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
3 เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการผนวกไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทุกระดับ
แนวทางปฏิบัติ | แผนงาน/โครงการ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|---|
1.1.1.1 ส่งเสริมการจัดทำแผนงานการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. จัดทำกลไก ทิศทาง และแผนการดำเนินงานเสริมสร้างความตระหนัก ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้แก่สาธารณะให้ครอบคลุมคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ชุ่มน้ำ และวิธีการในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | |
1.1.1.2 ส่งเสริมและจัดให้มีสื่อ และ/หรือกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เยาวชน ชุมชนท้องถิ่น และสาธารณชน | 1. การฝึกอบรมความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนและสร้างจิตสำนึก รอบพื้นที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช แพร่ หนองบัวลำภู และ อุทัยธานี | |
2. สื่อสาร เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพให้กับเจ้าหน้าที่ ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงวิธีการในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||
3. ประชาสัมพันธ์ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ | ||
4. บูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น (Bio Gang) | ||
5. การจัดนิทรรศการและจัดทำเอกสารเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึง ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการใช้ประโยชน์อยู่ในภาคส่วนต่างๆ เช่น พืชสมุนไพร พืชและสัตว์พื้นเมืองและที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นต้น | ||
6. จัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าในเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||
7. จัดทำหนังสือความหลายทางชีวภาพของไลเคน ในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกาญจนบุรี สุรินทร์ นครพนม และสุโขทัย | ||
1.1.1.3 จัดประชุมทางวิชาการ กิจกรรมรณรงค์ค่ายเยาวชนเพื่อสร้างความรู้ความตระหนักและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. โครงการอยู่ร่วมกัน ฉันและเธอ (ป่าไม้) | |
2. จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ | ||
3. จัดกิจกรรมรณรงค์และค่ายเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||
1.1.1.4 เสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของชุมชนท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะบทบาทสตรีในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. เสริมสร้างความตระหนักและบทบาทของชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะสตรีในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน |
แนวทางปฏิบัติ | แผนงาน/โครงการ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|---|
1.1.2.1 ส่งเสริมให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะหลักสูตรสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์ | 1. ส่งเสริมให้มีเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในหลักสูตรของสถาบันการศึกษา โดยเพิ่มเติมและปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน | |
1.1.2.2 ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ทันสมัยและและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน | |
1.1.2.3 จัดทำหลักสูตรในการอบรมเจ้าหน้าที่ ชุมชนท้องถิ่น และหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | 1. โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านพืชเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพรรณพืชให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการจัดทำหลักสูตรนักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น อนุกรมวิธาน การวาดภาพและถ่ายภาพทางพฤกษศาสตร์ ความหลากหลายของพืชกับสิ่งแวดล้อม การดำรงชีวิตของพืช และค่ายเยาวชนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม | |
2. การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน | ||
3. ส่งเสริมให้มีการนำหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนกับนักเรียนและเยาวชน | ||
4. โครงการ E-learning เรื่องสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่นให้กับครู นักเรียน สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา |